วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แร่เศรษฐกิจ กลุ่มที่ 5

กลุ่มที่ 5 แร่วัตถุดิบในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

1) แร่ยิปซัม
   






ชื่อแร่ มาจากภาษากรีก เป็นชื่อแร่โดยเฉพาะพวกแร่ที่เกี่ยวกับปูน
      -แร่ยิปซัมชนิด Satin Spar มีเนื้อเป็นเสี้ยนๆ มีความวาวคล้ายใยไหม
      -แร่ยิปซัมชนิด Selenite  มีเนื้อเป็นแผ่นบางโปร่งใส ไม่มีสี
      -แร่ยิปซัมชนิด Alabaster  มีเนื้อเป็นมวลเมล็ดอัดแน่น สีขาว

     คุณสมบัติทางฟิสิกส์ – รูปผลึกระบบโมโนคลินิก ผลึกมีลักษณะเป็นแท่งแบนปลายแหลมทั้งสองข้าง อาจเกิดเป็นรูปผลึกแผด มีรอยแยกแนวเรียบ 3 แนวต่างกัน แต่ที่ชัดเจนมีแนวเดียวจนทำให้แตกเป็นแผ่นๆ รอยแตกอีกแนวอาจเป็นรูปเว้าโค้งแบบก้นหอย หรือแตกเป็นเสี้ยนๆ ความแข็งตามมาตรของโมร์(Moh's scale) เท่ากับ 2 เป็นแร่ตัวหนึ่งในมาตรของโมร์ ถ.พ. 2.30  ความวาวคล้ายแก้ว หรือวาวคล้ายมุก คล้ายไหม ไม่มีสี หรือสีขาว เทา หรือมีสีเหลือง แดง น้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่ เนื้อโปร่งใสจนถึงโปร่งแสง
คุณสมบัติทางเคมี  - สูตรเคมี CaSO4.2H2O  มี CaO 32.6 % SO3 46.5 %  มี น้ำ (H2O)   26.9% หลอมตัวขั้นที่ 3 ละลายในกรดเกลือเจือจางร้อน
ลักษณะเด่นและวิธีการตรวจ – อ่อนเล็บขูดเข้าเป็นรอยเนื่องจากเล็บมีความแข็งประมาณ 2.5 มีรอยแยกเรียบสมบูรณ์ 3 ทาง ละลายในกรดเกลือเจือจางที่ร้อน
การกำเนิด –เกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเล เนื่องจากน้ำทะเลระเหยตัวออกไปจึงมีการสะสมตัวเป็นชั้นๆเหมือนเกลือหิน นอกจากนี้ยังพบเกิดอยู่ร่วมกับแร่ที่เกิดจากน้ำร้อนอื่นๆ เช่นในสายแร่ทองคำ สังกะสี ตะกั่ว และทองแดงเป็นต้น
       แหล่งที่พบ
     ในประเทศไทยพบและมีการทำเหมืองที่จังหวัดพิจิตร   อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอทุ่งใหญ่ และอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอนาสารและอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่พบแหล่งแต่ยังไม่มีการผลิตพบที่จังหวัดเลย ปริมาณสำรองแร่ยิปซัมในประเทศไทย มีทั้งหมดประมาณ 200 ล้านตัน
-          ต่างประเทศพบมากที่ประเทศ แคนนาดา สหรัฐอเมริกา จีน อิหร่าน เม็กซิโก ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อินเดีย อิตาลี โปแลนอียิป สเปน และสหราชอาณาจักร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น