วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สมบัติทางเคมี

สมบัติทางเคมีของแร่

          การตรวจสมบัติทางเคมีของแร่นั้นมีหลายวิธี แต่การตรวจสอบขั้นต้นควรใช้วิธีที่ไม่ยุ่งยาก เช่น
           การทำปฎิกิริยากับกรด โดยใช้กรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก HCl) ในการทำปฎิกิริยา แร่พวกคาร์บอเนตจะทำปฎิกิริยากับกรดเกลืออย่างเห็นได้ชัด แร่ตัวอื่นอาจจะมีบ้างเล็กน้อย โดยทั่วไปแล้วจะใช้กรดเกลือหยดลงบนผิวแร่หรือผงแร่ เพียง 1-2 หยด  แร่บางชนิดไวต่อกรด แต่บางชนิดต้องอุ่นด้วยเปลวไฟ ถ้าเป็นพวกคาร์บอเนต เช่น แคลไซต์ จะทำปฏิกิริยากับกรดเกลือทันที คือ จะให้ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแร่บางชนิดจะต้องให้ความร้อนก่อนจึงจะทำปฏิกิริยาได้    เช่น    โรโดโครไซต์ บางพวกทำปฏิกิริยาช้าให้ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น  ได้แก่  สฟาเลอไรต์ แร่พวกแมงกานีสก็ทำปฏิกิริยาช้า เช่นกัน และให้กลิ่นคลอรีน
           การละลายในกรด วิธีนี้จะสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างการละลาย และสีของสารละลาย ซึ่งรวมๆ กันแล้วจะทำให้ทราบได้ว่ามีธาตุอะไรบ้าง กรดที่ใช้เป็นตัวทำละลายได้แก่ กรดเกลือ (HCl) กรดดินประสิว (HNO3) กรดกำมะถัน (H2SO4) แร่ที่จะนำมาทดสอบการละลายจะต้องมีลักษณะเป็นผงละเอียด ขั้นตอนมีดังนี้
               1. ทดลองใช้กรดเกลือก่อน ถ้าไม่ละลายจึงใช้กรดดินประสิว ถ้ายังไม่ละลายอีกให้ใช้กรดกำมะถัน
               2. ดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ว่าผงแร่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้าละลาย มีฟองหรือไม่ ช้าหรือเร็ว มีการละลายของสารเกิดขึ้นหรือไม่

                   ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาการละลายในกรด

แร่
ผลของปฏิกิริยา
คาร์บอเนต
จะมีฟองเกิดขึ้นมาก
แมงกานีสออกไซด์
มีกลิ่นคลอลีนฉุน
โคบอลต์
เหล็ก
ให้สารละลายสีเหลือง น้ำตาล หรือ น้ำตาลแดง
นิเกิล ทองแดง
ให้สารละลายสีเขียวหรือฟ้า
ซัลไฟด์
มีกลิ่นเหมือนกลิ่นไข่เน่า


               ตัวอย่างสีของเปลวไฟของธาตุแต่ละชนิด
สีของเปลวไฟ
ธาตุ
แดงเข้ม
สทรอนเซียม (Sr)
ลิเทียม (Li)
ส้ม
แคลเซียม (Ca)
เหลืองจัด
โซเดียม (Na)
เขียวปนเหลือง
แบเรียม (Ba)
โมลิบดินัม (Mo)
โบรอน (B)
เขียวมรกต
ทองแดง (Cu)
ฟ้าคราม
ทองแดง (Cu)
ฟ้าคราม (เปลวทองแดงคลอไรต์)
คลอรีน (Cl)
เขียวปนฟ้าอ่อน
ฟอสฟอรัส (P)
เขียวปนฟ้า
สังกะสี (Zn)
เขียวอ่อน
พลวง (Sb)
ฟ้าครามอ่อนๆ
ตะกั่ว (Pb)
ม่วง
โพแทสเซียม (K)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น