วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สมบัติทางกายภาพ


สมบัติทางกายภาพที่ใช้จำแนกแร่

                    
          สมบัติทางกายภาพของแร่ ที่สามารถนำมาใช้จำแนกแร่โดยทั่วไปประกอบด้วย สี สีผง ความแข็ง ผลึก ความโปร่งแสง ความถ่วงจำเพาะ ความมันวาว เป็นต้น

          สี (color) เป็นสมบัติที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน แต่จะให้ระบุชนิดของแร่ว่าเป็นแร่ตัวใดนั้นเป็นสิ่งที่ยากเพราะแร่หลายชนิดมีสีคล้ายๆกัน จึงไม่เหมาะที่จะใช้การดูสีเป็นหลักเกณฑ์ตายตัวในการบอกชนิดของแร่ เพียงแต่สามารถนำมาใช้ในการคาดเดาว่าอาจจะเป็นแร่ชนิดใด แล้วจึงนำสมบัติอื่นๆ มาเปรียบเทียบ ต่อไป
        

      
      สีผง (streak) สีผงของแร่ที่ได้จากการขูด หรือ บดเป็นผงอาจจะแตกต่างจากสีที่เป็นจริงของแร่ และแร่จะมีสีผงละเอียดที่แน่นอน เช่น แคลไซต์ ในแร่ชนิดเดียวกันจะมีความแตกต่างกันทั้งทาง สี และรูปร่าง แต่แคลไซต์ทุกตัวจะมีสีผงละเอียดเป็นสีขาวเหมือนกัน การดูจากสีผงละเอียดจะทำให้สามารถแยกแร่ที่มีสีเหมือนกันแต่แตกต่างกันในสีของผงละเอียด    ตัวอย่างเช่น   ทอง (gold)    กับ  ชาร์โคไพไรท์ (chalcopyrite) ซึ่งมีสีของแร่เป็นสีเหลืองเหมือนกัน แต่ทำให้เป็นผงแล้วสีของแร่ทั้งสองนี้จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ ทองจะมีสีผงละเอียดเป็นสีเหลืองแต่ชาร์โคไพไรท์จะมีสีผงละเอียดเป็นสีดำ

ทอง (gold)

ชาร์โคไพไรท์ (chalcopyrite)

          ความแข็ง (hardness) เป็นสมบัติหลักของแร่ ด้วยรูปลักษณ์และสมบัตินี้ทำให้สามารถจำแนกแร่ได้ง่ายขึ้น  ความแข็งของแร่ หมายถึง ความทนทานต่อการขูดหรือการกะเทาะของแร่ เช่น ถ้านำแร่ A มาขูดกับแร่ B แล้วทำให้แร่ B เป็นรอยได้ แต่เมื่อนำแร่ B มาขูดแร่ A ไม่สามารถทำให้แร่ A เป็นรอยได้ แสดงว่า แร่ A มีความแข็งกว่าแร่ B ความแข็งโดยใช้สเกลของ เฟเดอริก  โมห์  (Frederick Mohs) ซึ่งมีอยู่ 10 แร่เรียงตามลำดับจากอ่อนสุดไปหาแข็งสุดได้ดังนี้

แร่
ค่าความแข็ง (โดยประมาณ)
ทัลก์ (talc)
1
ยิปซัม (gypsum)
2
แคลไซต์ (calcite)
3
ฟลูออไรต์ (fluorite)
4
อะพาไทต์ (apatite)
5
เฟลสปาร์ (feldspar)
6
ควอตซ์ (quartz)
7
โทแพซ (topaz)
8
คอรันดัม (corundum)
9
เพชร (diamond)
10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น