สมบัติทางเคมีของแร่
การตรวจสมบัติทางเคมีของแร่นั้นมีหลายวิธี แต่การตรวจสอบขั้นต้นควรใช้วิธีที่ไม่ยุ่งยาก เช่น
การทำปฎิกิริยากับกรด โดยใช้กรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก HCl) ในการทำปฎิกิริยา แร่พวกคาร์บอเนตจะทำปฎิกิริยากับกรดเกลืออย่างเห็นได้ชัด แร่ตัวอื่นอาจจะมีบ้างเล็กน้อย โดยทั่วไปแล้วจะใช้กรดเกลือหยดลงบนผิวแร่หรือผงแร่ เพียง 1-2 หยด แร่บางชนิดไวต่อกรด แต่บางชนิดต้องอุ่นด้วยเปลวไฟ ถ้าเป็นพวกคาร์บอเนต เช่น แคลไซต์ จะทำปฏิกิริยากับกรดเกลือทันที คือ จะให้ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแร่บางชนิดจะต้องให้ความร้อนก่อนจึงจะทำปฏิกิริยาได้ เช่น โรโดโครไซต์ บางพวกทำปฏิกิริยาช้าให้ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น ได้แก่ สฟาเลอไรต์ แร่พวกแมงกานีสก็ทำปฏิกิริยาช้า เช่นกัน และให้กลิ่นคลอรีน
การละลายในกรด วิธีนี้จะสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างการละลาย และสีของสารละลาย ซึ่งรวมๆ กันแล้วจะทำให้ทราบได้ว่ามีธาตุอะไรบ้าง กรดที่ใช้เป็นตัวทำละลายได้แก่ กรดเกลือ (HCl) กรดดินประสิว (HNO3) กรดกำมะถัน (H2SO4) แร่ที่จะนำมาทดสอบการละลายจะต้องมีลักษณะเป็นผงละเอียด ขั้นตอนมีดังนี้
1. ทดลองใช้กรดเกลือก่อน ถ้าไม่ละลายจึงใช้กรดดินประสิว ถ้ายังไม่ละลายอีกให้ใช้กรดกำมะถัน
2. ดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ว่าผงแร่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้าละลาย มีฟองหรือไม่ ช้าหรือเร็ว มีการละลายของสารเกิดขึ้นหรือไม่
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาการละลายในกรด
แร่ | ผลของปฏิกิริยา |
คาร์บอเนต | จะมีฟองเกิดขึ้นมาก |
แมงกานีสออกไซด์ | มีกลิ่นคลอลีนฉุน |
โคบอลต์ | |
เหล็ก | ให้สารละลายสีเหลือง น้ำตาล หรือ น้ำตาลแดง |
นิเกิล ทองแดง | ให้สารละลายสีเขียวหรือฟ้า |
ซัลไฟด์ | มีกลิ่นเหมือนกลิ่นไข่เน่า |
ตัวอย่างสีของเปลวไฟของธาตุแต่ละชนิด
สีของเปลวไฟ | ธาตุ |
แดงเข้ม | สทรอนเซียม (Sr) ลิเทียม (Li) |
ส้ม | แคลเซียม (Ca) |
เหลืองจัด | โซเดียม (Na) |
เขียวปนเหลือง | แบเรียม (Ba) โมลิบดินัม (Mo) โบรอน (B) |
เขียวมรกต | ทองแดง (Cu) |
ฟ้าคราม | ทองแดง (Cu) |
ฟ้าคราม (เปลวทองแดงคลอไรต์) | คลอรีน (Cl) |
เขียวปนฟ้าอ่อน | ฟอสฟอรัส (P) |
เขียวปนฟ้า | สังกะสี (Zn) |
เขียวอ่อน | พลวง (Sb) |
ฟ้าครามอ่อนๆ | ตะกั่ว (Pb) |
ม่วง | โพแทสเซียม (K) |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น